วันเสาร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

วิธีการเลือกขนาดเสื้อผ้าเด็ก

สวัสดีจ้า วันนี้จะมาบอกเกี่ยวกับวิธีการเลือกเสื้อผ้าให้ลูกน้อย ปัญหาส่วนใหญ่ของการเลือกซื้อเสื้อผ้าเด็กทางอินเตอร์เน็ต คือไม่รู้จะเลือกเสื้อผ้าเด็กไซส์ไหนดี ลูกต้องใส่ไซส์ไหน ซึ่งหลายครั้งที่เจอเสื้อผ้าเด็กถูกใจสุดๆ แต่ไม่รู้ว่าต้องเลือกไซส์ไหนดีละ
เสื้อผ้าเด็กส่วนใหญ่จะเป็นเสื้อผ้าเด็กนำเข้าสไตล์เกาหลี ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งมีแฟชั่นสวยงาม น่ารัก ทันสมัย โดยเนื้อผ้าและขนาดของเสื้อผ้าเด็กแต่ละยี่ห้อก็จะมีรูปแบบแตกต่างกันออกไป เช่น
  • 1Y-2Y-3Y-4Y-5Y-6Y     เป็นขนาดเสื้อผ้าเด็กที่แบ่งตามอายุของเด็ก
  • 1T-2T-3T-4T-5T-6T      ก็เป็นเสื้อผ้าเด็กที่แบ่งตามอายุของเด็กเช่นกัน
  • 90-100-110-120-130       เป็นขนาดเสื้อผ้าเด็กที่แบ่งตามความสูงของเด็ก หน่วยเป็นเซนติเมตร
  • 5-7-9-11-13                    เป็นขนาดเสื้อผ้าเด็กสไตล์เกาหลี ซึ่งเทียบเท่ากับ 90-100-110-120-130 นั่นเอง
โดยลูกค้าไม่ต้องกังวลค่ะ เพราะทางร้าน kids4mom ได้ใส่ตารางเทียบไซส์เสื้อผ้าเด็กให้ในทุกหน้ารายการสินค้า ลูกค้าสามารถเปิด และเลือกขนาดเสื้อผ้าเด็กที่ต้องการได้ทันที
ตัวอย่างเช่น : ลูกมีความสูง 110 ซม. ก็ควรซื้อขนาด 110 หรือ 120 แล้วแต่คุณพ่อ คุณแม่จะชอบ บางคนชอบให้ลูกใส่ออกมาแล้วพอดีตัว จะทำให้ดูสวย แต่คุณพ่อ คุณแม่บางท่านอยากให้เผื่อโตสักนิดจะได้ใส่ได้นานๆ แต่ก็อาจจะดูหลวมๆ นิดนึง


ตารางเทียบไซส์เสื้อผ้าเด็ก


แวะเลือกซื้อเสื้อผ้าเด็กพร้อมส่งราคาย่อมเยาว์ได้ที่
kids4mom.com - เสื้อผ้าเด็ก ชุดเด็ก หมวกเด็ก รองเท้าเด็ก ชุดบัลเล่ต์เด็ก พร้อมส่งทุกรายการ

วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เมื่อลูกตัวเตี้ย





ปัญหาลูกตัวเตี้ย
     กระบวนการเจริญเติบโตเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน โดยมีทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม, ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม เช่น ภาวะโภชนาการ, จิตใจ และอารมณ์ เป็นตัวกำหนดให้มีการเจริญเติบโตที่เป็นไปโดยปกติ ถ้ามีสิ่งใดมากระทบต่อกระบวนการดังกล่าว ย่อมส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติของการเจริญเติบโตขึ้นได้
สาเหตุที่ทำให้เด็กตัวเตี้ย
  • บุคคลในครอบครัวมีรูปร่างเตี้ย (Familial Short Stature)
  • เตี้ยและเข้าสู่วัยรุ่นช้า (Constitutional Growth Delay) เด็กกลุ่มนี้มีขนาดร่างกายปกติเมื่อแรกเกิด และเติบโตขึ้นอย่างปกติเหมือนเด็กทั่วๆ ไป เพียงแต่มีอัตราการเจริญเติบโตที่ต่ำกว่า ระดับปกติที่ยอมรับได้เพียงเล็กน้อย และการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัย หนุ่ม-สาวจะช้ากว่าเพื่อนวัยเดียวกัน แต่เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงตามที่ควรจะเป็นตามกรรมพันธุ์
  • เตี้ยเนื่องจากเจ็บป่วยเรื้อรัง
  • เตี้ยเนื่องจากมีความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อ หรือความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต ขาดธัยรอยด์ฮอร์โมน, กลุ่มอาคารคุชชิ่ง (Cushing Syndrome)
  • เตี้ยเนื่องจากมีโรคที่เกิดจากความผิดปกติของกระดูก
     
ปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโต
  1. กรรมพันธุ์ (Genetic)
    เป็นตัวกำหนดความสูงสุดท้ายและขั้นตอนการเจริญเติบโต รวมทั้งรูปร่าง ของคนในชาติต่างๆ โดยลักษณะทางพันุกรรมที่มีผลต่อความสูง จะปรากฏให้เห็นชัด เมื่อเด็กอายุได้ 2 ขวบ และเมื่อเติบโตเป็นผู้ใหญ่
     
  2. ภาวะโภชนาการ (Nutrition)
    การเจริญเติบโตเริ่มตั้งแต่ระยะที่เป็นทารกในครรภ์ ดังนั้นอาหารที่มารดาได้รับระหว่างการตั้งครรภ์ควรครบทั้ง 5 หมู่ นอกจากนี้ การบริโภคอาหารอย่างถูกต้องสมดุล เป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับเด็กๆ ในการเจริญเติบโตตามปกติ
     
  3. ฮอร์โมน (Hormones)
    ฮอร์โมน เกือบทุกตัวมี ผลต่อการเจริญเติบโต ฮอร์โมนที่มีผลอย่างเด่นชัด ต่อการเจริญเติบโตของเด็ก มีดังนี้
    3.1 ฮอร์โมนเพื่อการเจริญเติบโต (Growth Hormone)
          ฮอร์โมนนี้มีความจำเป็นโดยตรงต่อ การเจริญเติบโตของร่างกาย
    3.2 ธัยร๊อกซิน (Tyroxine) หรือ ธัยรอยด์ฮอร์โมน มีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบการเผาผลาญอาหารของร่างกาย และช่วยให้กระดูกมีพัฒนาการอย่างปกติ
    3.3 แอนโดรเจน (Androgen) คือ ฮอร์โมนเพศชาย แอนโดนเจนจะทำงานร่วมกับ ฮอร์โมน เพื่อการเจริญเติบโต กระตุ้นความเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นในเด็กชายช่วงวัยเจริญพันธุ์
    3.4 เอสโตรเจน (Estrogen) คือ ฮอร์โมนเพศหญิง มีหน้าที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ ทางเพศของเด็กหญิง ในช่วงวัยเจริญพันธุ์
    3.5 อินซูลิน (Insulin) มีหน้าที่กระตุ้นการเผาผลาญน้ำตาล เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงานแก่ร่างกาย จึงมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโตของร่างกาย
    3.6 คอร์ติซอล (Cortisol)
     
  4. ความเจ็บป่วยเรื้อรังในวัยเด็ก
     
  5. การใช้ยาบางชนิด
     
ฮอร์โมนการเจริญเติบโตคืออะไร
จะสังเกตได้อย่างไรว่าเด็กขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโต
     ฮอร์โมนการเจริญเติบโต คือ ฮอร์โมนที่ถูกผลิตขึ้นจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า นอกจากจะมีผลต่อการเจริญเติบโตแล้ว ยังมีผลต่อการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เด็กที่ขาดฮอร์โมนการเจริญเติบโตจะมีหน้าที่ ดูอ่อนกว่าอายุจริงรูปร่างเตี้ยเล็กแต่สมส่วน แต่เนื่องจากมีไขมันสะสมบริเวณลำตัวมาก จึงทำให้เด็กดูอ้วนกลม ถ้าเป็นเด็กชายมักมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย ภาวะขาดฮอร์โมนดังกล่าวไม่มีผลกระทบต่อระดับสติปัญญาของเด็ก
ท่านควรเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง เมื่อพาเด็กมาพบแพทย์
     ท่านควรเตรียมข้อมูลความสูงและน้ำหนักในอดีต ซึ่งอาจจะบันทึกไว้ในสมุดสุขภาพหรือสมุดพกของโรงเรียนเท่าที่จะหาได้ และควรนำสมุดสุขภาพมาด้วย เพื่อจะได้ทราบข้อมูลของน้ำหนักและความสูงในอดีต และนำมาประกอบการพิจารณาในการรักษาและ ติดตามการเจริญเติบโตต่อไป

ลูกตัวเตี้ยทราบได้อย่างไร
  1. วัดความสูงเป็นระยะๆ ซึ่งมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยต่อไปดังตารางต่อไปนี้


     
  2. สามารถนำความสูงของเด็ก มาจุดลงบนเส้นกราฟมาตรฐาน (ในสมุดสุขภาพ) ซึ่งแยกเป็นกราฟสำหรับเด็กหญิงหรือกราฟสำหรับเด็กชาย โดยถ้าความสูงต่ำกว่าเส้นสุดท้าย แสดงว่าเตี้ย

    ดังนั้นถ้าสังเกตพบว่าเด็กมีปัญหาตัวเตี้ยหรือสูงไม่ได้ตามเกณฑ์ ควรพามาพบแพทย์พร้อมสมุดบันทึกสุขภาพ

ขอบคุณ : แผนกกุมารเวชกรรม โรงพยาบาบบีเอ็นเอช
เรียบเรียงโดย : พญ.ปวินทรา หะริณสุต             

ลูกกินยากทำอย่างไรดี



คุณพ่อและคุณแม่ส่วนใหญ่จะเครียดและกังวลใจมาก หากลูกน้อยเป็น "เด็กกินยาก" ทั้งที่พยายามทุกทาง เพื่อให้ลูกรับประทานอาหาร แต่สุดท้ายก็เป็นผลให้เด็กต่อต้านมากขึ้น ปัญหาก็รุนแรงและเรื้อรังยิ่งขึ้น
โดยปกติจะพบ "เด็กกินยาก" ในเด็กทั่วไปร้อยละ 3-5 เปอร์เซ็นต์ และมักอยู่ในวัย 1-6 ปี ซึ่งเด็กมักจะมีอาการดังนี้ คือ รับประทานอาหารช้า ชอบอมข้าว หรือร้องไห้อาละวาด บ้วนทิ้ง ไม่ยอมกินข้าว หรืออาเจียนอาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วออกมา โดยพ่อและแม่มันจะเคี่ยวเข็น อ้อนวอน คะยั้นคะยอ สี้างเงื่อนไขให้กับเด็ก ให้สินบน หรือบังคับลงโทษด้วยวิธีการต่างๆ
ส่วนใหญ่เด็กจะได้รับอาหารต่อวันในปริมาณที่เพียงพอสำหรับร่างกาย แต่ในกรณีที่เด็กได้รับอาหารน้อยกว่าปกติจะทำให้มีการเจริญเติบโตที่ล่าช้า ดังนั้นเด็กควรได้รับการตรวจประเมิน เพื่อหาและรักษาความเจ็บทางร่างกายและจิตใจโดยละเอียด
วิธีการแก้ไขปัญหาการกินในเด็ก
1.  ฝึกเด็กตั้งแต่เริ่มต้น โดย
  • ให้นั่งโต๊ะรับประทานอาหารพร้อมคุณพ่อกับคุณแม่
  • ไม่เปิดทีวีระหว่างรับประทานอาหาร
  • ให้เวลารับประทานอาหารประมาณ 30 นาที ถ้าเด็กไม่รับประทานอาหาร เมื่อหมดเวลาให้เก็บอาหารทันที
  • ตักอาหารให้พอดีไม่มากเกินไป
  • ระหว่างรับประทานอาหารให้พูดคุยแต่เรื่องดีๆ
  • อย่าบังคับให้เด็กรับประทานอาหารหรือลงโทษ เมื่อเด็กไม่รับประทานอาหาร
  • เมื่อเด็กรับประทานอาหารได้ดีให้ชื่นชม หากทำไม่ได้ดีให้เพิกเฉย อย่าตำหนิ
  • งดเว้นการรับประทานอาหารอื่นๆ ระหว่างมื้ออาหาร เช่น นม ขนม หรือของจุบจิบ เป็นต้น
2.  ให้แก้ไขสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาการกินในเด็ก ได้แก่
     2.1  สาเหตุที่เกิดจากตัวเด็ก ได้แก่
  • เด็กอายุประมาณ 1 ขวบ จะเริ่มพัฒนาความเป็นตัวของตัวเอง และเด็กจะต่อต้านหากถูกบังคับ
  • ปริมาณอาหารมากเกินไป
  • เด็กไม่ชอบรับประทานอาหารสิ่งนั้น เช่น ผัก ไม่ควรบังคับ แต่ควรดัดแปลงอาหารนั้นในรูปแบบต่างๆ แล้วชักชวนให้เด็กลองรับประทาน
  • เด็กขาดความอยากรับประทานอาหารเนื่องจากรับประทานขนมหรือนมระหว่างมื้อแล้ว
  • เด็กมีประสบการณ์ที่ไม่ดีเกี่ยวกับการรับประทานอาหาร เช่น ถูกบังคับป้อนจนเจ็บปาก หรือบรรยากาศที่ไม่ดีในการรับประทานอาหาร เช่น ถูกดุหรือถุกตี เป็นต้น
  • ขณะที่รับประทานอาหารเด็กมีความเจ็บป่วยทางร่างกาย หรือมีปัญหาทางอารมณ์
      2.2  แก้ไขสาเหตุที่เกิดจากพ่อแม่หรือคนเลี้ยงดู
  • ลดความกังวลใจลงบ้างเกี่ยวกับการรับประทานอาหารของเด็ก เช่น กังวลว่าเด็กจะมีน้ำหนักตัวน้อย หรือได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ เพราะความกังวลนั้นส่งต่อไปให้เด็ก ทำให้มีผลต่อการไม่รับประทานอาหารได้
  • ให้เด็กได้มีโอกาสช่วยเหลือตัวเองเกี่ยวกับการรับประทานอาหารบ้าง เช่น ให้เด็กได้เริ่มหยิบอาหารใส่ปากเอง หรือเอาช้อนใส่ปากได้เอง จะหกเลอะเทอะบ้างก็ไม่เป็นไร
3.  ปฏิบัติตามข้อ 1 และ ข้อ 2 อย่างสม่ำเสมอหากมีข้อสงสัย สามารถขอคำแนะนำจากกุมารแพทย์ หรือจิตแพทย์เด็กได้
วิธีการป้องกันปัญหาเด็กกินยาก
  1. เริ่มให้อาหารเสริมในเวลาที่เหมาะสม (ประมาณ 4 เดือน)
  2. ฝึกสุขปฏิบัติในการกินให้เด็กตั้งแต่เริ่มต้น
สรุป
ปัญหาที่เด็กกินอาหารยากเป็นปัญหาที่พบบ่อย ดังนั้นการดูแลและป้องกันปัญหาตั้งแต่เริ่มต้นจะช่วยให้เด็กดีขึ้นได้ มิฉะนั้นอาจเกิดปัญหาต่างๆ ตามมาได้ เช่น ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างพ่อแม่ลูก ปัญหาพฤติกรรมก้าวร้าว และปัญหาด้านจิตใจ เป็นต้น เช่น เก็บกด ขี้กังวล

ขอบคุณแหล่งข้อมูลจาก #หมอมินบานเย็น

แหล่งข้อมูลเพิ่มเติม
วิฐารณ บุญสิทธิ. จิตเวชเด็กสำหรับกุมารแพทย์ (ฉบับปรับปรุง). ชวนพิมพ์ : กรุงเทพฯ, กุมภาพันธ์ 2538: 104-109.


10 สถานที่พาลูกเที่ยว

สวัสดีค่ะ วันนี้คุณแม่หลายๆ คนคงอยากจะพาลูกไปเที่ยว แต่ก็ไม่รู้จะไปเที่ยวไหนดี วันนี้ ร้านเสื้อผ้าเด็ก kids4mom.com ขอเสนอ 10 สถานที่ท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ สำหรับครอบครัวไว้เป็นไอเดียจ้า
1. ซานโตรินี่ พาร์ค ชะอำ
เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชะอำ ซึ่งบรรยากาศของที่นี่ทั้งชิลล์ ทั้งชิค ทั้งแอดแวนเจอร์ มีครบทุกรส เหมือนซานโตรินี่เมืองชายทะเลของประเทศกรีซ ตัวอาคารปูนสีขาวตัดกับสีสันสดใสของขอบประตูหน้าต่าง ทุกตรอกซอกซอยเหมาะกับการถ่ายรูปมากๆ สำหรับคุณพ่อ คุณแม่ที่ชอบถ่ายภาพ รับรองว่าคุณพ่อ คุณแม่ ต้องได้รูปลูกสวยๆ น่ารักๆ แน่นอน
ซานโตรินี่ พาร์ค ชะอำ
ที่นี่แบ่งเป็น 5 โซน เพื่อรองรับความต้องการของนักท่องเที่ยว